วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

มะม่วง




    
              มะม่วง เป็นผลไม้ที่ผู้คนนิยมบริโภคตลอดปี   มะม่วงนอกจากจะนำมารับประทานได้หลายรูปแบบแล้วยังเป็นไม้ยืนต้นที่ให้ร่มเงา ได้เป็นอยางดี ส่วนอื่นๆ ก็นำมาใช้ประโยชน์ได้ อาทิ ใบ ดอกมะวม่วง มีวิตามินเอและซีสูง และยังมีสารอาหารอื่นๆ อีก เรียกได้ว่า มะม่วงลูกหนึ่งมีสารอาหารเกือบครบเลยทีเดียว  และมะม่วงยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรอีกด้วย

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

เมล็ดสด ๆ  นำมารับประทาน หรือนำมาโรยเกลือ รับประทานเพื่อขับปัสสาวะหรือแก้บวมน้ำ เนื้อในเมล็ดใช้แก้ท้องร่วง
ผลมะม่วง นำมาคั้นรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะหรือร้อนใน แก้คลื่นไส้ แก้บิดถ่ายเป็นเลือด และใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร
ใบมะม่วง นำมาพอประมาณต้มรับประทานแก้ซางตานขโมยในเด็ก แก้ลำไส้อักเสบ หรือใช้ใบสดๆ ตำพอกบริเวณที่เป็นแผลสด จะเป็นยาสมานแผลสดได้ดีที่เดียว
เปลือกลำต้นมะม่วง ใช้เปลือกสดๆ มาต้มรับประทานเป็นยาแก้โรคคอตีบ เยื่อปากอักเสบ จมูกอักเสบ


คุณค่าทางอาหารของมะม่วง
มะม่วงเป็นผลไม้ที่ทานได้ทั้งดิบและสุก แต่การรับประทานมะม่วงสุก จะพบว่ามีปริมาณพลังงานที่ค่อนข้างสูงกว่ามะม่วงดิบ  โดยมะม่วงสุกหนึ่งผล จะทำให้พลังงานประมาณ120-160 กิโลแคลอรี่ มะม่วงมีสารต้านอนุมูลอิสระที่หลากหลายคือมะม่วงขนาดกลางหนึ่งผล มีปริมาณวิตามินเอประมาณ1ใน4 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการ และมีวิตามินซีและอี ร้อยละ 76 และ  9 ตามลำดับ 
            วิตามินทั้งสามชนิดนี้ มีหน้าที่ในร่างกายหลายประการ โดยเฉพาะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเมื่อมีครบทั้งสามชนิด จะทำให้มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าการได้รับวิตามินตัวใดตัวหนึ่งเดี่ยวๆ นอกจากนี้วิตามินทั้งสามยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมและบำรุงเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายไม่ให้เกิดความชราก่อนวัยอันสมควร  ในเนื้อมะม่วงยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆอีกที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกหลายชนิด เช่น วิตามินบี วิตามินเค โพแทสเซียม ทองแดง และโปรตีน ซึ่งมีส่วนช่วยให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติ ช่วยในการเผาผลาญอาหาร เพื่อให้เกิดพลังงานสำหรับใช้ในกิจกรรมประจำวันต่างๆ หากขาดสารอาหารเหล่านี้  อาจทำให้การเผาผลาญอาหารผิดปกติ เกิดการสะสมกลายเป็นไขมันได้

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

สับปะรด



สับปะรด  ใช้กินเป็นผลไม้ หรือปรุงเป็นอาหาร ส่วนมากนิยมนำไปแปรรูปทำเป็นสับปะรดกระป๋อง และสับปะรดกวน ส่วนใบมีเส้นใยยาวเหนียว สามารถนำไปทำเป็นเชือก หรือ ทำเป็นกระดาษ สับปะรดมีรสหวานฝาดเล็กน้อย

สารอาหารที่อยู่ในสับปะรดมีประโยชน์จำนวนมาก และ มีคุณค่าทางยาสูง มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหารจำพวกเนื้อ เสริมการดูดซึมอาหาร ดับร้อนแก้กระหาย สับปะรดยังมีสารจำพวก น้ำตาล กรด วิตามิน อยู่หลายชนิด

การรับประทานสับปะรดเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรค ไตอักเสบ ความดันโลหิตสูง หลอดลมอักเสบ สับปะรดที่เริ่มนิ่ม มีน้ำเหนียว ๆ ไหลออกมา แสดงว่าสุกมากเกินไปและเริ่มเน่า ไม่ควรรับประทาน

การรับประทานที่ถูกวิธี คือ
ใช้ มีดใหญ่เฉือนเปลือกออกจนหมด จากนั้นจึงใช้มีดตัดส่วนตาออกเป็นร่องเฉียง เป็นแถว ๆ เอาส่วนตาออกแล้วตัดเป็นชิ้น แล้วเอาเกลือแกงทาให้ทั่วหรือมิฉะนั้นก็แช่ในน้ำเกลืออ่อน ๆ ประมาณ 2-3 นาที การทาเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือนอกจากจะทำให้รสชาติดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการทำลายสารจำพวก Glycoalkaoid และ เอ็มไซม์ บางชนิด ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ หลังรับประทานได้